ลืมรหัสผ่าน

 

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาและบุคลากรสถาบัน กรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน ท่านสามารถคลิกที่ Link ด้านล่าง 

เพื่อเข้าสู่ระบบสำหรับเปลี่ยนรหัสผ่าน โดยระบบจะได้ส่ง E-mail ( E-mail สำรองของท่าน เช่น @gmail,@hotmail เป็นต้น)  

ให้ยืนยันความการเปลี่ยนรหัสผ่าน  เมื่อตอบยืนยันแล้วระบบจะยกเลิกรหัสผ่านเดิมและสร้างรหัสผ่านใหม่ให้

*กรณีที่นักศึกษาหรือบุคลากร ลืม  E-mail สำรองของท่าน สามารถสอบถามได้ที่ help desk โทร. (662) 727-3777

 

ลืมรหัสผ่าน / Forgot Password  

student

 

staff b

 

• กรณี ลืมรหัสผ่าน สำหรับนักศึกษา

• กรณี ลืมรหัสผ่าน สำหรับบุคลากร

 

 

 

 

 


ics

 ics01

 

วิธีการเชื่อมต่อเมล ICS กับ เมลบน Office 365

pdfคู่มือวิธีการเชื่อมต่อเมล ICS กับ เมลบน Office 365 [.pdf] 

 

วิธีการเชื่อมต่อเมล ICS กับ เมลบน Microsoft Outlook

pdfคู่มือวิธีการเชื่อมต่อเมล ICS กับ เมลบน Microsoft Outlook [.pdf] 

 

 


 

 

 

 

eduroam

 

eduroam ย่อมาจาก “educational roaming” เป็นเครื่องหมายที่จดทะเบียนโดย TERENA ที่ก่อกำเนิดจากเครือข่ายการศึกษาและวิจัยของยุโรป (NRENs) เพื่อการใช้งานเครือข่ายที่เรียบง่าย ปลอดภัย และรองรับผู้ใช้งานที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้

โดย eduroam เป็นบริการเครือข่ายโรมมิ่งเพื่อการศึกษาและวิจัย โดยมีสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยต่าง ๆ ร่วมเป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย บุคลากรจากสถาบันที่เป็นสมาชิกเครือข่าย eduroam ที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจในสถาบันอื่นที่เป็นสมาชิกด้วยกัน สามารถใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทันทีเมื่อเชื่อมต่อเข้ากับจุดให้บริการ WiFi ที่ใช้ชื่อ SSID เป็น eduroam โดยการยืนยันตัวบุคคลด้วยบัญชีผู้ใช้ที่ออกให้โดยสถาบันต้นสังกัด

เครือข่าย eduroam ใช้รูปแบบการยืนยันตัวบุคคลผ่านส่วนกลาง (roaming) ด้วยบัญชีผู้ใช้ที่ออกโดยสถาบันต้นสังกัด (Identity Provider) และเมื่อผ่านขั้นตอนยืนยันตัวบุคคลแล้ว ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานของสถาบันผู้ให้บริการเครือข่าย (Service Provider) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เป็นสมาชิกของ eduroam ผ่านเครือข่ายของสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา หรือ UniNet ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ eduroam ของประเทศไทย โดยสถาบัน (NIDA) ให้บริการในสองส่วนคือ

• เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย (Service Provider) สำหรับให้บริการเครือข่ายกับแขกผู้มาเยือน

• เป็นผู้ตรวจสอบพร้อมยืนยันสิทธิ์การใช้งาน (Identity Provider) สำหรับบุคลากรของสถาบัน (NIDA) ที่ต้องไปปฏิบัติภารกิจในสถาบันการศึกษาอื่น

การให้บริการเครือข่าย eduroam สำหรับแขกผู้มาเยือน (บุคลากรจากสถาบันที่เป็นสมาชิก) สถาบัน (NIDA) ได้ติดตั้งจุดให้บริการเครือข่ายไร้สาย สำหรับให้บริการเครือข่าย eduroam ไว้ตามอาคารต่าง ๆ ในสถาบัน โดยตั้งชื่อ SSID เป็น eduroam ซึ่งบุคลากรจากสถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิกสามารถเชื่อมต่อและยืนยันตัวบุคคลด้วยบัญชีผู้ใช้ที่ออกโดยสถาบันต้นสังกัด สถาบัน (NIDA) ขอสงวนสิทธิ์ในการบันทึกการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Traffic Log) ของผู้ใช้งาน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ พ.ศ.2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

 

การใช้งาน eduroam สำหรับนิสิต อาจารย์และบุคลากรของสถาบัน (NIDA)

เมื่อไปปฏิบัติภารกิจในสถาบันอื่นที่เป็นสมาชิก eduroam สามารถใช้งานเครือข่าย eduroam ได้ โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายไร้สายที่มี SSID ที่ชื่อ eduroam แล้วยืนยันตัวบุคคลด้วยบัญชีผู้ใช้งาน NetID เพื่อเข้าใช้งานเครือข่าย เช่น This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โดยในการใช้งานต้องให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่สถาบันที่ให้บริการเครือข่ายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

 

สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยในประเทศไทยที่สามารถใช้งาน eduroam ได้ http://eduroam.uni.net.th/eduroam-th/index.php?var=where&lang=thai

รายละเอียดเพิ่มเติม http://eduroam.uni.net.th

 

แจ้งปัญหาการใช้งานได้ที่ helpdesk โทร. 02-727-3777-8 หรือ itc.nida.ac.th

Attendance Tracking System (ATS)

ระบบติดตามการเข้าร่วมกิจกรรมและการใช้งานทรัพยากร (Attendance Tracking System : ATS)
เป็นระบบที่สนับสนุนให้เกิดการใช้งานทรัพยากรที่คุ้มค่า และบริหารการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ ทั้งยังจะช่วยในการเก็บข้อมูลของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ได้อีกด้วย
โดยระบบจะใช้ในการติดตามการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของบุคลากรในสถาบันว่ามีการใช้งานทรัพยากรต่าง ๆ มากน้อยเพียงใด ในส่วนของนักศึกษาจะนำมาใช้ในการติดตามการเข้าเรียนของนักศึกษา และในส่วนของบุคลากรสามารถใช้ในการติดตามการเข้าร่วมกิจกรรม การประชุมและงานสัมมนาต่าง ๆ ได้

ในกรณที่ท่านลืมพกบัตรประจำตัว  ท่านสามารถขอรับ  หมายเลขยืนยันตนสำหรับเครื่องทาบบัตรของคุณได้ที่ https://atsapp.nida.ac.th/ats  โดย   Login ด้วย NetID ของท่าน

ats

 

ขั้นตอนการเปิดใช้งานบัตรประจำตัวนักศึกษา สำหรับใช้งานเครื่องอ่านบัตร

 

NIDA i-Thesis

ระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA i-Thesis)

 

NIDA  i-Thesis คือ ระบบกำหนดกรอบการเขียนและการบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บริหารจัดการโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถเริ่มต้นเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมจัดส่งไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่คณะผู้ดูแลหลักสูตรผ่านระบบได้โดยสะดวก

ระบบ NIDA  i-Thesis ยังช่วยให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจ และตระหนักต่อการลอกเลียนหรือลักลอกวรรณกรรม (plagiarism) ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งระบบฯ จะตรวจสอบความคล้ำยคลึงของวิทยานิพนธ์และเอกสารที่อยู่ในคลังข้อมูล ผ่านโปรแกรมตรวจการลักลอกวรรณกรรมชื่อ “อักขราวิสุทธิ์” ซึ่งมีเครือข่ายสมาชิกประชาคมมหาวิทยาลัยจำนวนมาก ร่วมแบ่งปันฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์เพื่อการตรวจสอบ และจะตรวจสอบทุกเวอร์ชันของไฟล์โครงร่างวิทยานิพนธ์และร่าง วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ที่นักศึกษาได้ส่งเข้าสู่ระบบ (submit)

 


 

i-Thesis สามารถเข้าใช้งานได้แล้วที่ ithesis.nida.ac.th

**ระบบ e-Thesis เดิมรวมไปถึง GMS จะไม่สามารถใช้งานได้

นักศึกษาสามารถศึกษาวิธีการเปลี่ยนจาก e-Thesis มาเป็น i-Thesis ได้จากคู่มือด้านล่างนี้

คู่มือการย้ายไฟล์จากระบบ e-Thesis สู่ระบบ i-Thesis

 


 

นักศึกษาสามารถเข้าใช้งาน ระบบ NIDA i-Thesis ได้จาก https://ithesis.nida.ac.th/

Login เข้าใช้งานระบบ NIDA  i-Thesis  โดยใช้ NetID ตัวอย่าง เช่น This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

นักศึกษาสามารถดาวโหลดคู่มือการใช้งานและเทมเพลทสไตล์สำหรับการพิมพ์เนื้อหาใน MS Word ได้ดังนี้  

pdfคู่มือ NIDA i-Thesis (.pdf)

sway i-Thesis FAQ

pdfคู่มือ ขั้นตอนการนำเข้าสไตล์ (.pdf)

คู่มือ การลบ e-Thesis และติดตั้ง i-Thesis

pdfStyle for Microsoft Word(TH)

pdfStyle for Microsoft Word(EN)

journal ขอเพิ่มวารสารในฐานข้อมูล i-Thesis

 


 

บริการให้คำปรึกษาระบบ i-Thesis (i-Thesis clinic)

บริการให้คำปรึกษาทุกวันวันอังคารและศุกร์ เวลา 13.00 - 16.00 น.

ปฏิทินการให้บริการ (คลิกที่นี่)

ผ่านช่องทาง Microsoft Teams โดยนักศึกษาสามารถเข้าร่วมได้ด้วย

Code : g7uwcxg

วิธีการ join Microsoft Teams ด้วย code

 


 

วิธีการดาวน์โหลด และการใช้งานโปรแกรม Endnote

การติดตั้ง Endnote

คู่มือการใช้งาน Endnote

ลงทะเบียนอบรม Office 2016 / Office 365

 

 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้นำบริการ Microsoft Office 365 มาให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากรของสถาบัน 

ทั้งนี้สถาบันได้รับความอนุเคราะห์จาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดอบรมในหัวข้อ

"office 2016 และ office 365 สำหรับภาคการศึกษา และเตรียมความพร้อมสู่โลกธุรกิจ "

เพื่อให้ นักศึกษาและบุคลากรของสถาบัน สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กิจกรรม

- บริการ Download ชุด Office ลิขสิทธิ์แท้ ฟรี ณ ชั้น G อาคารนวมินทราธิราช ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2559

- อบรม "office 2016 และ office 365 สำหรับภาคการศึกษา และเตรียมความพร้อมสู่โลกธุรกิจ "

   download ตารางการอบรม

  สำหรับนักศึกษา

  รอบที่ 1 วันอาทิตย์ ที่ 27 มีนาคม 2559 และ รอบที่ 2 วันจันทร์ ที่ 28 มีนาคม 2559 

  เวลา: 09.00-16.00 น. สถานที่: ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ชั้น 9 อาคารสยามบรมราชกุมารี 

 

  สำหรับ คณาจารย์และบุคลากร

  รอบที่ 1 วันอังคาร ที่ 29 มีนาคม 2559  

  เวลา: 09.00-16.00 น. สถานที่: ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2 ชั้น 9 อาคารสยามบรมราชกุมารี 

 

 ***สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 11 โทรศัพท์ 02-727-3249***

บริการเครือข่ายไร้สาย (Wi - Fi)

เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษานการเข้าใช้งาน NIDAnet และอินเตอร์เน็ต ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Smart Phone ที่สนับสนุน Wi-Fi ก็จะสามารถเข้าใช้งาน NIDAnet และอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้ NetID ที่ได้รับไปในการระบุตัวตนเพื่อเข้าใช้งานดังกล่าว

 

SSID : คือชื่อเครื่อข่ายที่ให้บริการ Wi-fi ของสถาบัน

บริการ WiFi ที่ให้บริการ มีดังนี้

 

• บริการ Wi-fi สำหรับนักศึกษา (username@stu) :

การใช้งานมี 2 แบบ

1. แบบ dot1x SSID ที่ให้บริการ ได้แก่ @NIDA, @NIDA by true, @NIDA by AIS  

ตั้งค่าครั้งเดียวใช้ได้ตลอดเวลาไม่ต้องล็อคอินบ่อยๆ เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพาส่วนตัว

ข้อควรระวัง หากไปล็อคอิน ต้องทำการลบการตั้งค่า (Forget) หลังการใช้งาน เพื่อป้องกันการกระทำผิด พรบ. โดยผู้อื่น

 

2. แบบ web login SSID ที่ให้บริการ ได้แก่ NIDA Wireless, NIDA WiFi by true, NIDA WiFi by AIS

ใช้วิธีการล็อคอินผ่านหน้าเว็บ ต้องล็อคอินใหม่เมื่อไม่ได้ใช้งานต่อเนื่องช่วงเวลาหนึ่ง (idle timeout)

หรือหมดเวลาจึงถูกตัดสัญญาณ

 

คู่มือการใช้งาน WiFi สำหรับนักศึกษา

pdfการใช้งาน WiFi เพื่อการเชื่อมต่อแบบต่อครั้ง [.pdf] 

pdfการใช้งาน Wifi บนสมาร์ทโฟน สำหรับ iPhone iPad เพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ [.pdf] 

pdfการใช้งาน Wifi บนสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต สาหรับ android เพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ [.pdf] 

pdfคู่มือการติดตั้ง Wifi บน Windows7 เพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ [.pdf]

      *Window 8 ขึ้นไป สามารถ loginได้เลย โดยไม่ต้องลง dot1x

 

 

• บริการ Wi-fi สำหรับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ (username@nida) :

การใช้งานมี 2 แบบ

1. แบบ dot1x SSID ที่ให้บริการ ได้แก่ @NIDA,NIDA Staff,NIDA Staff by true, NIDA Staff by AIS

@NIDA by true, @NIDA by AIS ตั้งค่าครั้งเดียวใช้ได้ตลอดเวลาไม่ต้องล็อคอินบ่อย ๆ

เหมาะสำหรับอุปกรณ์พกพาส่วนตัว ข้อควรระวัง หากไปล็อคอิน ต้องทำการลบการตั้งค่า (Forget)

หลังการใช้งาน เพื่อป้องกันการกระทำผิด พรบ. โดยผู้อื่น

 

2. แบบ web login SSID ที่ให้บริการ ได้แก่ NIDA Wireless, NIDA WiFi by true, NIDA WiFi by AIS

ใช้วิธีการล็อคอินผ่านหน้าเว็บ ต้องล็อคอินใหม่เมื่อไม่ได้ใช้งานต่อเนื่องช่วงเวลาหนึ่ง (idle timeout)

หรือหมดเวลาจึงถูกตัดสัญญาณ

 

คู่มือการใช้งาน WiFi สำหรับเจ้าหน้าที่

pdfการใช้งาน WiFi เพื่อการเชื่อมต่อแบบต่อครั้ง [.pdf] 

pdfการใช้งาน Wifi บนสมาร์ทโฟน สำหรับ iPhone iPad เพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ (สำหรับเจ้าหน้าที่สถาบัน) [.pdf] 

pdfการใช้งาน Wifi บนสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต สาหรับ android เพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ (สำหรับเจ้าหน้าที่สถาบัน) [.pdf] 

pdfคู่มือการติดตั้ง Wifi บน Windows7 เพื่อการเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ (สำหรับเจ้าหน้าที่สถาบัน)

      *Window 8 ขึ้นไป สามารถ loginได้เลย โดยไม่ต้องลง dot1x

 

• บริการ Wi-fi สำหรับผู้มาอบรมและสัมมนา (username@visitor) :

การใช้งานมี 2 แบบ

แบบ web login SSID ที่ให้บริการ ได้แก่ NIDA Wireless, NIDA WiFi by true, NIDA WiFi by AIS

ใช้วิธีการล็อคอินผ่านหน้าเว็บ ต้องล็อคอินใหม่เมื่อไม่ได้ใช้งานต่อเนื่องช่วงเวลาหนึ่ง (idle timeout) หรือหมดเวลาจึงถูกตัดสัญญาณ

*สำหรับหน่วยงาน ที่มีการจัดงานประชุมวิชาการ/งานฝึกอบรม สามารถขอรับบริการได้โดยกรอก แบบฟอร์มขอใช้อินเทอร์เน็ต สำหรับผู้เข้าอบรม/โครงการความร่วมมือ ที่

แบบฟอร์มสำหรับบุคลากร


 

การ Login : ใช้ NetID ที่ได้รับในการระบุตัวตนเพื่อเข้าใช้งานได้บริเวณที่ติดตั้งจุดส่งสัญญาณ เพื่อให้บริการเครือข่ายไร้สาย

มีทั้งหมด 1200 จุด กระจายอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ทั่วสถาบัน หากมีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ Help desk

อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 10 ห้อง 1001 โทร. (662) 727-3777 , 3778 

 

 

 

งานประกันคุณภาพการศึกษา

    สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศได้เริ่มจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) เพื่อรับการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 โดยในขณะนั้นสำนักมีพันธกิจเฉพาะด้านการจัดการฝึกอบรม และจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตต่อมา ในปี 2546 สำนักได้ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจเปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ในลักษณะเป็นโครงการร่วม ในปี 2547 สถาบัน ได้โอนภาระงานด้านเทคโนโลยีที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆได้แก่ ศูนย์เทคโนโลยี งานโสตทัศนศึกษาของกองบริการการศึกษา และศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหาร มาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนัก เพื่อความเป็นเอกภาพในการบริหารงานด้านเทคโนโลยี ทำให้ภารกิจของสำนักเน้นหนักไปในด้านการให้บริการเทคโนโลยี และส่งผลให้โครงการร่วมหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศหยุดรับนักศึกษาตั้งแต่ภาค 2 ปีการศึกษา 2549 การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ในช่วงที่ผ่านมาจึงเป็นการกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน 4 มาตรฐานได้แก่ 

  01  มาตรฐานด้านคุณภาพการให้บริการ

  02  มาตรฐานด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

  03  มาตรฐานด้านการพัฒนาสำนักและบุคลากร

  04  มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพ

     ต่อมาในปีการศึกษา 2551 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 สถาบันได้ประกาศ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีผลให้หน่วยเสียงและอิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยภาพนิ่งและโทรทัศน์  ย้ายไปสังกัดกลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์  กองกลาง  สำนักงานอธิการบดี  ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2551   สำนักจึงได้ปรับเปลี่ยนการประเมินเฉพาะภารกิจด้านการให้บริการเทคโนโลยี โดยกำหนดเกณฑ์ในการประเมินเป็นทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่
      องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนการดำเนินการ
      องค์ประกอบที่ 2 คุณภาพการให้บริการ
      องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการแก่สังคม
      องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      องค์ประกอบที่ 5 การบริหารและการจัดการ
      องค์ประกอบที่ 6 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
จะเห็นได้ว่าการจัดทำรายงานการประเมินตนเองช่วยให้สำนักทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งของการดำเนินงานการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งช่วยให้สำนักใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของภาระงานด้าน ต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายของการเป็นองค์กรคุณภาพหนึ่งของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทสรุปรายงานผลการดำเนินงานของสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ

รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ ดังต่อไปนี้

งานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ [.pdf] 

แผนยุทธศาสตร์ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563 [.pdf]

แผนยุทธศาสตร์ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2563 [.pdf]

แผนยุทธศาสตร์ของสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2563 (update Nov 2019) [.pdf]

แผนยุทธศาสตร์ของสำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 [.pdf]

บริการป้องกันไวรัสและความปลอดภัย

เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบุคลากรทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ต เช่น ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต สำนักได้จัดเครื่องแม่ข่ายสำหรับการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและการปรับปรุงระบบปฏิบัติการเพื่อปิดช่องโหว่ของระบบ รายละเอียดดังนี้

บริการติดตั้งโปรแกรมป้องกันและกำจัดไวรัส NOD32 (เฉพาะเครื่องผู้ใช้ภายในสถาบัน)

ติดต่อขอรับบริการได้ที่   Help desk : หมายเลขโทรศัพท์ (662) 727-3777

บริการแก้ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์

เพื่อช่วยให้อาจารย์และเจ้าหน้าที่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สถาบันจัดให้เป็นเครื่องมือในการทำงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวก สำนักมีเจ้าหน้าที่ช่วยในการแก้ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการติดต่อเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์ขัดข้องสามารถแจ้งปัญหาได้ที่

Help desk : หมายเลขโทรศัพท์ (662) 727-3777 

แนวปฏิบัติการให้บริการส่งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย

ใบแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ [.pdf]

E-mail Address สำหรับบุคลากร

บุคลากรสามารถมี E-Mail Address ได้สองโดเมนคือ

@nida.ac.th ใช้เป็น E-Mail หลัก และเป็น NetID สำหรับใช้ในการระบุตัวตนเพื่อเข้าใช้งานบริการเครือข่ายไร้สายของสถาบัน (Wi-Fi)

สามารถใช้งานได้ที่ portal.office.com

@ics.nida.ac.th ใช้สำหรับระบบการติดต่อสื่อสารภายในสถาบัน(Internal Communication System)

การขอมีรหัสผู้ใช้สำหรับเข้าสู่ระบบเครือข่ายและบริการเครือข่าย สามารถติดต่อผ่านคณะ/สำนัก/หน่วยงานที่สังกัด เพื่อแจ้งต่อมายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินการ

กรณีลืม Password กรุณาติดต่อ help desk โทร. (662) 727-3777

สำคัญอย่างยิ่งที่ต้องมี E-mail address ดังกล่าวเพื่อยืนยันตัวตนเข้าสู่ระบบ LAN มิเช่นนั้นท่านจะไม่สามารถทำงานผ่านเครือข่าย เช่น การใช้ระบบ MIS เป็นต้น

 

 

งาน Computer & Network Security
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ
โทร. (662) 727-3781

ระบบการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์

เป็นแหล่งข้อมูลในการเรียนการสอนแต่ละวิชา ซึ่งประกอบด้วย แผนการสอน สื่อประกอบการเรียน การบ้าน  แบบทดสอบ  และเป็นการเพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถจัดการ การเรียนรู้นอกห้องเรียนได้ในลักษณะต่าง ๆ ตามความต้องการของตนโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

การเข้าร่วมรายวิชาในระบบ e-Learning

  1  ส่งแบบฟอร์มขอเปิดรายวิชาในระบบ e-Learning

    1.1 ระบุสิทธิ์การเข้าชม แบบไม่จำกัดสิทธิ์หรือเฉพาะผู้มีรหัสผ่าน

    1.2 นัดหมายการถ่ายวิดีโอบันทึกการเรียนการสอนกรณีให้มีการบันทึกการเรียนการสอน

  2  ผู้ดูแลระบบจะสร้างรายวิชาและนักศึกษาเข้าสู่ระบบ

  3  ผู้ดูแลระบบจะเพิ่มรายชื่อนักศึกษาเข้าสู่รายวิชานั้น

  4  ผู้ดูแลระบบจะแจ้งรหัสผู้ใช้ ,รหัสผ่านให้กับนักศึกษา

 

สถิติการใช้งาน 

 ตารางแสดงจำนวนรายวิชาทั้งหมดของแต่ละคณะในระบบ e-Learning

หน่วยงาน

จำนวน(วิชา)

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

30

คณะบริหารธุรกิจ

5

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

4

คณะสถิติประยุกต์

13

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

9

คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

9

คณะภาษาและการสื่อสาร

30

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

8

กองบริการการศึกษา

1

กองบริหารทรัพยากรบุคคล

3

สภาคณาจารย์

1

กองแผนงาน

1

สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

1

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

5

สำนักวิจัย

1

รวม

121

 

 


 

NIDA University Application

NIDA UApp หรือ NIDA University Application 

โดย NIDA UApp เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบัน กับธนาคารกรุงไทย  เป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงระบบหรือสารสนเทศต่างๆบนอุปกรณ์พกพา ที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Android และ iOS ซึ่งในขั้นแรกได้เปิดการใช้งานแล้วคือส่วนของVirtual ID ใช้แทนบัตรนักศึกษาเพื่อใช้บริการด้านต่างๆ ของสถาบัน และส่วนของ News & Event การอัปเดตข่าวสารและ กิจกรรมภายในรั้วสถาบัน นอกจากนี้ NIDA UApp ยังสามารถเชื่อมโยงกับแอปพลิเคชั่น เป๋าตัง ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาในการชำระเงินผ่าน QR Code ที่ร้านค้า จึงขอเชิญชวนให้นักศึกษาทุกท่าน ดาวน์โหลด NIDA UApp มาใช้งานเพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ จากธนาคารกรุงไทย

 

 

 

 

Install NIDA UApp

 

android

สำหรับระบบปฏิบัติการ Android

DOWNLOAD APPLICATION

 

ios

สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS

DOWNLOAD APPLICATION

 

หากมีปัญหาในการติดตั้งหรือการใช้งาน โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ Help desk อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 9 โทร. (662) 727-3777

 

 

 

การบริการงานพิมพ์ (Print Quota)

การบริการงานพิมพ์ (Print Quota)

สำนักได้ปรับปรุงระบบงานพิมพ์ในห้องปฏิบัติการเดิม และ ระบบงานพิมพ์ผ่านเครือข่ายไร้สาย (WPS) ให้เป็นระบบเดียวกัน เรียกว่า NIDA Smart Printing System (NIDA SPS) โดยเริ่มใช้งานระบบใหม่นี้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556  ทั้งนี้นักศึกษาที่มีโควตางานพิมพ์เดิมอยู่ทั้ง 2 ระบบ สำนักได้ทำการรวมโควตาให้เป็นโควตาเดียวกันแล้ว

1. สามารถสั่งพิมพ์งานได้ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 (Walk-in Lab) อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 9  หรือที่สำนักบรรณสารการพัฒนา ชั้น 2 หรือพิมพ์โดย Notebook ส่วนตัว ที่เชื่อมต่อเครือข่าย NIDA Wireless  ทั้งนี้ต้องทำการติดตั้งโปรแกรมสำหรับระบบงานพิมพ์ NIDA SPS ก่อน ซึ่งสามารถ Download โปรแกรม และ คู่มือผ่านเว็บไซต์
( Download โปรแกรม และ คู่มือได้ที่นี่ )

2. สามารถไปรับงานที่สั่งพิมพ์ได้ที่เครื่องพิมพ์ ณ จุดที่ให้บริการ โดยนำบัตรนักศึกษาทาบบนเครื่องอ่านบัตร และเลือกพิมพ์งานที่ต้องการ
3. งานที่สั่งพิมพ์ จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่าย เป็นเวลา 6 ชั่วโมง หากนักศึกษาไม่ไปรับงาน  งานจะถูกลบออกจากระบบ โดยไม่ตัดโควตางานพิมพ์
4. นักศึกษาสามารถตรวจสอบโควตา และยกเลิกงานที่สั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเองที่หน้าจอเครื่องอ่านบัตร

การซื้อโควตางานพิมพ์
    สามารถซื้อโควตางานพิมพ์ได้ที่ Help desk ชั้น 9 อาคารสยามบรมราชกุมารี 

ค่าพิมพ์งาน

  • ขนาด A4 แบบขาวดำ ราคาหน้าละ 1 บาท
  • ขนาด A4 แบบสี ราคาหน้าละ 6  บาท (ให้บริการเฉพาะภายในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Walk-in Lab และ สำนักบรรณสารการพัฒนา  ชั้น 2)

เครื่องให้บริการงานพิมพ์ มีทั้งหมด 6 เครื่อง ดังนี้

  • ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ Walk-in Lab ชั้น 9 อาคารสยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 เครื่องให้บริการแบบ ขาว-ดำ และแบบสี
  • สำนักบรรณสารการพัฒนา  ชั้น 2 จำนวน 2 เครื่องให้บริการแบบ ขาว-ดำ และ แบบสี

วันเวลาในการเปิดบริการซื้อโควตาการพิมพ์งาน ดังนี้

  • วันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 - 18.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.00 น.
  • ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

สถาบันได้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้บริการ จำนวน 4 ห้อง แบ่งเป็นห้องที่ใช้ในการเรียนการสอน 3 ห้อง และสำหรับให้นักศึกษาทำงาน (walk-in) 1 ห้อง แต่ในกรณีที่ห้อง walk-in เต็ม และห้องอื่นไม่มีการเรียนการสอน จะเปิดให้นักศึกษาเข้าใช้งานได้เช่นกัน
วันเวลาที่เปิดให้บริการ

ห้อง ที่ตั้ง วัน-เวลาให้บริการ
LAB 1 (walk-in) อาคารสยามบรมกุราชกุมารี ชั้น 9

จันทร์ - ศุกร์

08.30 - 18.30
LAB 2
LAB 3

เสาร์ - อาทิตย์

08.30 - 17.30

LAB 4 ชั้น 10

 









 

นักศึกษาสามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการได้โดย log in ด้วยNetID  ที่ได้รับ  (@stu.nida.ac.th)

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในห้องปฏิบัติการอนุญาตให้บันทึกข้อมูลไว้ได้เพียง ชั่วคราวเท่านั้น จึงขอแนะนำให้นักศึกษานำสื่อบันทึกข้อมูลมาด้วย ห้องปฏิบัติการมีไว้เพื่อให้นักศึกษาใช้ในการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษา ตลอดจนการทำรายงานประกอบการศึกษาเท่านั้น นักศึกษาต้องไม่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการเพื่อการอื่น รวมถึงกิจกรรมอื่นที่ผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคม

หากพบว่ามีการใช้ คอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการไปในทางที่ไม่ถูกต้อง สถาบันสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าใช้ห้องปฏิบัติการอีกต่อไป

( เนื่องจากมีการปรับปรุงพื้นที่ บริเวณ ชั้น 9 อาคารสยามฯ ตั้งแต่ มกราคม - มิถุนายน 2566 เพื่ออำนวยความสะดวก ในช่วงการปรับปรุงพื้นที่ สำนักได้จัดห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ชั่วคราวไว้บริการ ตามภาพด้านล่าง )

 

 

ประกาศ : นโยบายและแนวปฏิบัติการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

นโยบายการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวปฏิบัติการใช้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวปฏิบัติการขอติดตั้งซอฟต์แวร์ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สาหรับการเรียนการสอน สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริการ Help desk

สำนักได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์เพื่อรับแจ้งปัญหาต่าง ๆ และให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาเบื้องต้น สำหรับบริการต่าง ๆ ที่สำนักได้จัดให้ นอกจากนี้หากต้องการให้ช่วยแก้ไขปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์หรือต้องการติดตั้ง การใช้งานเครือข่ายไร้สาย สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาที่งาน Help desk อาคารสยามบรมราชกุมารี ชั้น 9ได้ตามวันเวลาการให้บริการดังนี้

( เนื่องจากมีการปรับปรุงพื้นที่ บริเวณ ชั้น 9 อาคารสยามฯ ตั้งแต่ มกราคม - มิถุนายน 2566 ในส่วนงานบริการ Help desk จะสามารถใช้บริการได้ที่ ชั้น 10 อาคารสยามฯ)

  • จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 18.30 น.
  • เสาร์ - อาทิตย์ เวลา  08.30 - 17.30 น.
  • ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันที่สถาบันประกาศงดการเรียนการสอน

ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้ใช้แจ้งโดยโทรศัพท์มา เจ้าหน้าที่ Help desk จะส่งต่อไปยังผู้รับผิดชอบปัญหาโดยตรงเพื่อให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไข ปัญหาต่อไป

โทรศัพท์ติดต่อ : (662) 727-3777,3778

บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)

 

สามารถใช้งานได้ที่ portal.office.com

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้ ได้นำบริการ Microsoft Office365 มาให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากรของสถาบัน ซึ่งมีบริการต่างๆ ดังนี้

• Mail - เครื่องมือสื่อสารในรูปจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อที่ 50 GB

• Calendar - ปฏิทินการนัดหมายต่างๆ

• People - ข้อมูลรายชื่อของเพื่อน ซึ่งสามารถเพิ่มข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น สร้างรายบุคคล (Create Contact) หรือ รายกลุ่ม (Create Group)

• Newsfeed - ช่องทางการสื่อสารเพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร

• OneDrive - พื้นที่เก็บข้อมูลบน cloud ซึ่งผู้ใช้งานจะได้รับเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล 1TB ต่อบัญชีผู้ใช้

• Site - สร้างไซต์ส่วนตัวหรือปรับใช้เป็นรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานกลุ่ม

• Office Online - สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft office ผ่านหน้าเว็บได้ เช่น Word, Excel , PowerPoint 


การเข้าใช้งาน

นักศึกษาเข้าใช้งานด้วย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  หรือ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  โดยสามารถใช้งานได้ตลอดไปแม้จะสำเร็จการศึกษาแล้ว

บุคลากรเข้าใช้งานด้วย This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

- สามารถใช้งานได้ที่ portal.office.com

-- คู่มือการใช้งานเบื้องต้น --


กรณีที่ลืมหรือต้องการเปลียน Password 
 สามารถไปแก้ไขได้ที่  https://ams.nida.ac.th




เข้าสู่ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ คลิกที่นี่

NIDA NetID

NetID คืออะไร

NetID คือบัญชีผู้ใช้งาน เพื่อเข้าใช้งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยรูปแบบใหม่ ใช้รหัสนักศึกษา (เริ่มจาก ภาค 2 ปีการศึกษา 2564) 

 

  • NetID นักศึกษา (รหัสนักศึกษา@stu.nida.ac.th)

จะได้รับเมื่อทำการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของสถาบัน

ตัวอย่าง NetID นักศึกษา : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • NetID บุคลากร (@nida.ac.th)

บุคลากรจะต้องทำการดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศที่

บริการสำหรับบุคลากร >> แบบฟอร์มสำหรับบุคลากร

แล้วกรอกแบบฟอร์มส่งมาที่สำนักเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ

ตัวอย่าง NetID บุคลากร : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

NetID ใช้ทำอะไรได้บ้าง 

• สามารถเข้าใช้งานระบบทะเบียนนักศึกษาได้ (สำหรับนักศึกษา)

• สามารถเข้าใช้งานเครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) ของสถาบันได้

• สามารถเข้าใช้บริการคอมพิวเตอร์ และบริการ Smart Print ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  ณ อาคารสยามบรมราชกุมารี

• สามารถเข้าใช้งาน Mobile Application ของสถาบัน เช่น NIDA UApp, NIDA Library

• สามารถเข้าใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ของสำนักบรรณสารการพัฒนาได้

• สามารถเข้าใช้งานระบบจองทรัพยากรได้

• สามารถเข้าใช้บริการ Microsoft Office365 ได้

 

 

กรณีที่ต้องการเปลี่ยนหรือลืมรหัสผ่าน

เพื่อเข้าใช้ฐานข้อมูลห้องสมุด
Proxy Server คืออะไร?
มีประโยชน์อย่างไร?

   คู่มือการใช้งาน Proxy

คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน

redesign

ประชาสัมพันธ์ "คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน"

จากทางสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ link >>> https://www.nbtc.go.th/

download คู่มือ-Cyber-Security-สำหรับประชาชน

 

 

 

Loading...
Loading...